ผู้นำเสนองานไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดมาใส่ เนื่องจากจะต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ

“อัตราส่วนของเนื้อหาช่วงต้นไม่เกิน 5-10% เนื้อหาช่วงกลาง 70-80% และช่วงจบไม่เกิน 5-10%”      การจัดการเนื้อหา เนื้อหาที่ได้มาจำเป็นต้องมีการจัดลำดับให้เหมาะสม ด้วยการจับกลุ่มประเด็นสำคัญหลักเข้าด้วยกัน ตามด้วยประเด็นสำคัญรอง ยกตัวอย่างเช่น การจัดการเนื้อหาวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลก็คือ การเรียงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิด โดยการนำเสนอข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตก่อน จากนั้นก็ตามด้วยข้อมูลในปัจจุบัน และท้ายสุด คือ ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น   “ผู้นำเสนองานไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดมาใส่ เนื่องจากจะต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ”      สิ่งสำคัญก็คือ ผู้นำเสนอไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดที่มีอยู่มารวมไว้ในเนื้อหาที่จะนำเสนอ เนื่องจากจะต้องมีการบริหารจัดการเวลาให้เหมาะสม โดยต้องแน่ใจว่าตัวเองมีโอกาสได้นำเสนอหัวข้อสำคัญหลักๆ ทั้งหมด หรือ ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ตามที่ได้วางแผนไว้เบื้องต้น ด้วยเหตุนี้ให้ผู้นำเสนอนำเอามาเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เช่น ข้อเท็จจริง หรือ กรณีศึกษา เพื่อสนับสนุนประเด็นหลัก อย่าพยายามนำเสนอข้อมูลให้ผู้ฟังมากจนเกินไปโดยการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประเด็นสำคัญรองหรือไม่สำคัญจริงๆ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้นำเสนองานเองก็ไม่มีเวลาพอที่จะเชื่อมต่อกับผู้ฟังอีกด้วย    การเตรียมการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วยระเบียบปฏิบัติที่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดตามรายละเอียดซึ่งได้นำเสนอไว้ข้างต้นทั้งหมด นอกจากนี้ผู้นำเสนองานก็ไม่ควรพยายามที่จะพูดหรือนำเสนอข้อมูลทุกอย่างที่คุณอยากจะนำเสนอในระหว่างการถ่ายทอด และถ้าเป็นได้ก็คือให้ผู้นำเสนอปรึกษาผู้ฟัง สอบถามความต้องการ หรือ ร่วมกันเลือกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอก่อนวันนำเสนอจริง และที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องมีการเรียงลำดับเนื้อหาอีกครั้งเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตัวเขาและดูสมเหตุสมผลมากที่สุด    การเตรียมเนื้อหาหลัก   …

ความรับผิดชอบเรื่องการบริหารจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นหน้าที่และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับผู้จัดการไม่ว่าจะทางใดก็ทางหนึ่ง

ถึงแม้ว่าองค์กรแต่ละแห่งอาจจะยังมีนโยบายและระเบียบปฏิบัติงานหลายส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรมนุษย์โดยตรงยกตัวอย่างเช่น งานด้านดูแลสิ่งอำนวยความสะดวกของโรงงาน (Facilities) งานด้านคลังสินค้างานด้านการขายและการตลาด ฯลฯ งานเหล่านี้ก็ยังส่งผลกระทบโดยตรงต่อองค์กรในภาพรวมทั้งสิ้นในขณะเดียวกันถึงแม้ว่าธุรกิจแต่ละประเภทอาจมีขนาดและความจำเป็นในการจัดทำระเบียบปฏิบัติงานที่ไม่เท่ากัน แต่ธุรกิจทุกประเภทย่อมมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทรัพยากรมนุษย์ที่คล้ายคลึงและจำแนกออกมาได้เหมือนๆ กันตามกิจกรรมดังต่อไปนี้ กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM Process) กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM) เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นมากมายเพื่อจัดการกับกำลังพลขององค์กร รวมทั้งการรักษาไว้ซึ่งผลการปฏิบัติงานระดับสูงของพนักงานตามที่ได้แสดงไว้ในแผนผังเรื่องกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ กระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ (HRM Process) ที่มา: Stephen P. Robbins & Mary Coulter, Management, 5ed, PHI, New Delhi, 1996, p.375)           กระบวนการ HRM ประกอบด้วย 8 ขั้นตอนหรือกิจกรรมทั้งหมด 8 เรื่อง ในขณะเดียวกันหากองค์กรใดก็ตามที่สามารถดำเนินงานได้เหมาะสมตามขั้นตอนเหล่านี้ทั้งหมด องค์กรนั้นก็จะเต็มไปด้วยพนักงานที่มีความสามารถ มีผลงานอยู่ในระดับสูง และเป็นบุคลากรซึ่งสามารถรักษาระดับผลงานของตัวเองให้อยู่ในเกณฑ์ยอดเยี่ยมได้ในระยะยาวต่อไป           ในขณะที่ขั้นตอน …

วิทยากรที่ประสบความสำเร็จจะต้องไม่เน้นการบรรยายเป็นหลัก

“หมดยุคแล้วที่การฝึกอบรมจะต้องเน้นการบรรยายเป็นหลักเพราะคนส่วนใหญ่ฟังได้นานสูงสุดไม่เกิน 7-10 นาที การเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือการปล่อยให้คนเรียนได้ลงมือทำ คิดวิเคราะห์ และนำเสนอมุมมองต่างๆ ด้วยตัวเองออกมาก่อน จากนั้นวิทยากรจึงสรุปด้วยหลักการและแนวคิดที่สามารถใช้ได้จริง”               บทบาทของวิทยากรฝึกอบรมหรือเทรนเนอร์ในสถานที่ประกอบการได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมพร้อมกับการค่อยๆ เปลี่ยนจากแนวทางการสอนโดยเน้นที่วิทยากรเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามาถด้วยตัวเองไปสู่การใช้วิธีการให้ความสำคัญกับผู้เรียนแทน กล่าวคือ ผู้เรียนเองจะต้องมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ด้วยตัวเองมากขึ้น เช่น การคิดวิเคราะห์ การลงมือปฏิบัติ การทำกิจกรรม หรือ แม้แต่การนำเสนอมุมมองต่างๆ ด้วยตัวเอง             ที่สำคัญไปกว่านั้นก็คือวิทยากรยังจำเป็นที่จะต้องปรับบทบาทของตัวเองเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างผู้เรียนเพื่อให้คนเหล่านี้เกิดแรงบันดาลใจที่จะเรียนรู้ หรือ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการทำงานมากขึ้นหลังการเข้าร่วมฝึกอบรมซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของการฝึกอบรมทุกประเภทถึงแม้ว่าวิทยากรฝึกอบรมแต่ละคนจะมีสไตล์การถ่ายทอด และมีบุคลิกที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตามวิทยากรที่ประสบความสำเร็จมักมีคุณลักษณะ และทักษะที่จำเป็นดังต่อไปนี้ ทักษะการสอนหรือการถ่ายทอด ทักษะของวิทยากรฝึกอบรม เป็นทักษะที่ไม่เหมือนกับงานอาชีพอื่นๆ โดยเฉพาะทักษะทางด้านการสอนหรือการถ่ายทอด ด้วยเหตุนี้การพัฒนาทักษะการสอน การศึกษาหาความรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาการถ่ายทอดของตัวเองให้เข้าใจง่าย เน้นการนำเสนอสองทาง และที่สำคัญที่สุดก็คือการปล่อยให้คนเรียนได้มีโอกาสลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ด้วยตัวเอง พร้อมกับการชี้แนวทางที่เหมาะสมจึงกลายเป็นกุญแจสำคัญอย่างหนึ่งที่จะนำพาวิทยากรไปสู่ความสำเร็จ ทักษะในทางเทคนิค ทักษะในเชิงเทคนิคหมายถึงประสบการณ์ด้านการทำงาน ข้อมูลและความรู้ที่มี รวมทั้งประสบการณ์ด้านฝึกอบรมในเรื่องที่จะสอน …

การขายที่ประสบความสำเร็จต้องทำเป็นขั้นตอน

เนื่องจากการขายเป็นกระบวนอย่างหนึ่ง นั่นหมายความว่าการขายจะต้องทำเป็นขั้นเป็นตอนอย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากขั้นตอนแต่ละขั้นตอนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งหมด และที่สำคัญก็คือหากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งล้มเหลวก็จะส่งผลให้ขั้นตอนอื่นๆ ล้มเหลวไปด้วยจนทำให้ต้องกลับมาเริ่มต้นที่ขั้นตอนซึ่งเกิดความล้มเหลวใหม่อีกครั้ง   “ขั้นตอนการขายทุกขั้นตอนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งหมด หากขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งล้มเหลวก็จะส่งผลให้ขั้นตอนอื่นๆ ล้มเหลวไปด้วย”   โดยปรกติแล้วกระบวนการหรือขั้นตอนการขายจะประกอบไปด้วยขั้นตอนหลักๆ 6-7 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ โดยขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและสินค้าที่นำเสนอขายเป็นหลัก   การเปิดใจลูกค้า หรือ อาจเรียกว่าขั้นตอนการทำลายกำแพงระหว่างพนักงานกับลูกค้าด้วยการสร้างความประทับใจครั้งแรกและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า การค้นหาความต้องการลูกค้าหรือการประเมินผู้มุ่งหวัง การนำเสนอสินค้าหรือบริหาร หรือ นำเสนอวิธีการแก้ปัญหาให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า การตอบข้อโต้แย้ง การเจรจาต่อรอง และการปิดการขาย การนำเสนอสินค้าหรือบริการอื่นๆ เพิ่มเติม (ขั้นตอนนี้มักจะมีเฉพาะในธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการมากกว่า 1 ประเภท) การนำเสนอการบริการหลังการขาย (After Merchandising Service, AMS) การสิ้นสุดการขาย หรือ การสรุปทบทวนสิ่งที่ลูกค้าจะได้รับทั้งหมด อย่างไรก็ตามการขายในเชิงที่ปรึกษาอาจมีขั้นตอนที่แตกต่างจากขั้นตอนการขายทั่วๆ ไปบ้างเล็กน้อยซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้   ระบุเป้าหมายให้ชัดเจน โดยจะต้องเน้นที่การแก้ปัญหาเป็นหลัก สร้างความไว้วางใจให้เกิดขึ้น โดยการวางตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีประสบการณ์ และผู้ให้คำแนะนำ ศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องความต้องการของลูกค้าโดยการค้นคว้าหาข้อมูล การฟัง และการตั้งคำถาม นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา โดยการอธิบายขยายความ การทำให้ลูกค้ามองเห็นภาพ รวมทั้งการสาธิตสินค้าหรือบริการ สร้างพันธสัญญาให้เกิดขึ้น …