ผู้นำเสนองานไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดมาใส่ เนื่องจากจะต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ
“อัตราส่วนของเนื้อหาช่วงต้นไม่เกิน 5-10% เนื้อหาช่วงกลาง 70-80% และช่วงจบไม่เกิน 5-10%” การจัดการเนื้อหา เนื้อหาที่ได้มาจำเป็นต้องมีการจัดลำดับให้เหมาะสม ด้วยการจับกลุ่มประเด็นสำคัญหลักเข้าด้วยกัน ตามด้วยประเด็นสำคัญรอง ยกตัวอย่างเช่น การจัดการเนื้อหาวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลก็คือ การเรียงตามลำดับเหตุการณ์ที่เกิด โดยการนำเสนอข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีตก่อน จากนั้นก็ตามด้วยข้อมูลในปัจจุบัน และท้ายสุด คือ ข้อมูลที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นต้น “ผู้นำเสนองานไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดมาใส่ เนื่องจากจะต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ” สิ่งสำคัญก็คือ ผู้นำเสนอไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดที่มีอยู่มารวมไว้ในเนื้อหาที่จะนำเสนอ เนื่องจากจะต้องมีการบริหารจัดการเวลาให้เหมาะสม โดยต้องแน่ใจว่าตัวเองมีโอกาสได้นำเสนอหัวข้อสำคัญหลักๆ ทั้งหมด หรือ ครอบคลุมหัวข้อต่างๆ ตามที่ได้วางแผนไว้เบื้องต้น ด้วยเหตุนี้ให้ผู้นำเสนอนำเอามาเฉพาะเนื้อหาที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น เช่น ข้อเท็จจริง หรือ กรณีศึกษา เพื่อสนับสนุนประเด็นหลัก อย่าพยายามนำเสนอข้อมูลให้ผู้ฟังมากจนเกินไปโดยการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นประเด็นสำคัญรองหรือไม่สำคัญจริงๆ เพราะไม่เพียงแต่จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกเบื่อเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้นำเสนองานเองก็ไม่มีเวลาพอที่จะเชื่อมต่อกับผู้ฟังอีกด้วย การเตรียมการนำเสนออย่างมีประสิทธิภาพประกอบไปด้วยระเบียบปฏิบัติที่ต้องทำตามอย่างเคร่งครัดตามรายละเอียดซึ่งได้นำเสนอไว้ข้างต้นทั้งหมด นอกจากนี้ผู้นำเสนองานก็ไม่ควรพยายามที่จะพูดหรือนำเสนอข้อมูลทุกอย่างที่คุณอยากจะนำเสนอในระหว่างการถ่ายทอด และถ้าเป็นได้ก็คือให้ผู้นำเสนอปรึกษาผู้ฟัง สอบถามความต้องการ หรือ ร่วมกันเลือกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอก่อนวันนำเสนอจริง และที่สำคัญที่สุดก็คือจะต้องมีการเรียงลำดับเนื้อหาอีกครั้งเพื่อให้ผู้ฟังรู้สึกว่าเนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับตัวเขาและดูสมเหตุสมผลมากที่สุด การเตรียมเนื้อหาหลัก …
Read more “ผู้นำเสนองานไม่ควรนำเนื้อหารองทั้งหมดมาใส่ เนื่องจากจะต้องบริหารเวลาให้มีประสิทธิภาพ”